ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ แบบภาวะผู้นำแห่งศตวรรษที่ 2

 ดาวรุวรรณ ถวิลการ (2558). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ แบบภาวะผู้นำแห่งศตวรรษที่ 2 ,วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 ,หน้า 23-35.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ   อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

ภาวะผู้นำเหนือผู้นำเป็นภาวะผู้นำของผู้นำที่นำคนอื่นเพื่อให้คนอื่นสามารถนำตนเองได้ โดยผู้นำทำตนเป็นผู้สอนและแนะนำให้ผู้ตามเกิดการพัฒนากรอบความคิดเชิงเหตุผล และสร้างสรรค์ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองจนมีความมั่นใจ มีความเป็นอิสระในตน จนมีความเป็นผู้นำเกิดขึ้นในตนเอง โดยการสร้างแรงบันดาลใจผู้อื่น (Inspiration) ให้สามารถจูงใจตนเองและนำตนเองได้ แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเหนือผู้นำนั้นกำหนดให้ผู้นำต้องมีความกล้าเสี่ยงกับคน และจะต้องเชื่อว่าถ้าเปิดโอกาสให้เขานำตนเองแล้ว เขาก็จะพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพสูงสุดที่เขามีและจะทำงานนั้นด้วยตนเองอย่างได้ผลดีสูงสุดเช่นเดียวกัน กุญแจที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำเหนือผู้นำ คือ การมี “ความสามารถในการสอนและให้กรอบความคิดที่ถูกต้อง” แก่สมาชิก ซึ่งกระบวนการในการสร้างผู้นำของผู้นำที่มีภาวะผู้นำเหนือผู้นำนั้น มีทั้งหมด 7 ขั้นตอนคือ 1) การทำให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง 2) แสดงเป็นต้นแบบให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง 3) กระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง 4) สร้างรูปแบบความคิดในทางบวก 5) อำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเอง 6) สนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการสร้างคณะทำงาน และ 7) อำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง  ภาวะผู้นำแบบนี้สิ่งสำคัญที่ผู้นำต้องการคือผลสำเร็จของงานทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ แต่ในทำนองเดียวกันปัจจัยแห่งความสำเร็จย่อมขึ้นอยู่กับผู้นำหรือผู้บริหาร ซึ่งมีส่วนผลักดันและมีอิทธิพลต่อบรรยากาศในการทำงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรในองค์การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สามารถนำรูปแบบการจัดการเพื่อพัฒนาผู้นำเหนือผู้นำ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทีมงานเพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การสร้างบรรยากาศองค์การและวัฒนธรรมการทำงานที่ดี โดยสามารถนำหลักการต่อไปนี้ไปปรับใช้ได้แก่การจัดการการทำงานของทีมด้วยตนเอง การจัดการการทำงานเป็นทีมในโรงงาน การจัดการทางด้านการสื่อสารด้วยตนเอง และการนำตนเองของทีมภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเหนือผู้นำศตวรรษที่ 21




พงศธร แสนเมือง (2564). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี,วารสารพัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน.ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2564 ,หน้า 25-36.


Abstract

This research aims to study the state and problems towards educational resource management of educational institutions under Sing Buri Primary Educational Service Area Office and to compare administration state and educational resources of educational institutions under Sing Buri Primary Educational Service Area Office.  The sample group used in the research included 109 executives and 148 teachers totaling 257 participants.  The research instrument for data collection included a questionnaire on state and problems on educational resource management.  Statistics for data analysis included average, standard deviation, t-test and One-Way ANOVA. Results revealed that: 1) At the operational level, educational resource management of educational institutions under Sing Buri Primary Educational Service Area Office was in general at a high level, and the state and problems towards educational resource management of educational institutions under Sing Buri Primary Educational Service Area Office was overall at a low level. 2) The state of educational resource management of educational institutions under Sing Buri Primary Educational Service Area Office was indifferent across genders and positions at the statistically significant level of .05, and also the state of educational resource management of educational institutions under Sing Buri Primary Educational Service Area Office was indifferent across work experience and school sizes.




วิวัฒน์ มีสุวรรณ์(2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร,วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม –กันยายน 2560 ,หน้า 50-62.


วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ (Wiwat Meesuwan)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษา 3) เพื่อค้นหาปัจจัยที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร 2558 จำนวน 223 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าระหว่าง 0.391 – 0.637 และปัจจัยไม่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กันเองสูง หรือ Multi collinearity มีค่าสถิติ Tolerance ระหว่าง .628 - .796 3) ปัจจัยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์พหุคูณกับคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เท่ากับ 0.818 และมีค่าอำนาจการพยากรณ์ 0.670 แสดงว่า ปัจจัยทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์คุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้ร้อยละ 67.00 และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษามีจำนวน 6 ตัว ได้แก่ นโยบายและยุทธศาสตร์การศึกษา (X9) , การถ่ายทอดเทคโนโลยีการศึกษา (X7), คุณสมบัติของเทคโนโลยีการศึกษา (X4), ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษา (X3), การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน (X6) และภาวะเศรษฐกิจ (X8) สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
ในรูปคะแนนดิบ Y = 0.425 + 0.170X9 + 0.135X7 + 0.180X4 + 0.167X3 + 0.165X6 + 0.099X8
ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.201Zx9 + 0.158Zx7 + 0.189Zx4 + 0.198Zx3 + 0.183Zx6 + 0.122Zx8



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Humanistic Learning Theory in Counselor Education

การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการใช้เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนของผู้สอน ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ